วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

แล้วหมู่ที่5คืออะไรหล่ะ

306221[1]     หมู่ที่  5  ไขมันและน้ำมัน     306221[1]
            1[1]     อาหารหลักหมู่ที่ 5 ได้แก่ พวกไขมันและน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีแทรกอยู่ในอาหารประเภทอื่นๆ เช่น ถั่วลิสงแห้งซึ่งจะมีไขมันสูงมาก เนื้อสัตว์แทบทุกชนิดมีไขมันแทรกอยู่ ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการเหมือนกัน เราจึงนิยมใช้ไขมันประกอบอาหารหลายอย่างเพื่อช่วยให้อาหารรสชาติดีขึ้น
้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้
                                             --040_~1  ที่มา : http://pheerada3.blogspot.com

      1[5] ไขมันมีอยู่ 2 ประเภท คือ
…………..1. ไขมันที่ได้จากสัตว์ ( ไขมันอิ่มตัว )  เช่น มันหมู มันวัว มันปลา สัตว์จะสะสมไขมันเหล่านี้ไว้ในอวัยวะต่างๆ หลายแห่ง เช่น ในหมู ได้แก่ส่วนที่เราเรียกว่ามันแข็ง รอบๆ อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ไต จะมีไขมันหุ้มห่ออยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีไขมันบางส่วนที่แทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อ
                            imagesCAY8L0ZS
                                     --040_~1   ที่มา : http://variety.teenee.com/science/12489.html
………..
           ..2. ไขมันที่ได้จากพืช ( ไขมันไม่อิ่มตัว )   มีมากในส่วนที่เป็นเมล็ดแก่ๆ เช่น จากถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดฝ้าย งา ฯลฯ และเรายังได้ไขมันจากส่วนอื่นๆ ของพืชอีกนอกจากเมล็ด เช่น น้ำมันมะพร้าว  น้ำมันมะกอก เป็นต้น
vvvvvv
                                            --040_~1   ที่มา : http://www.thaigoodview.com
       
       1[1]  สารอาหารที่ได้รับ
…………….ไม่ว่าจะเป็นไขมันจากสัตว์หรือพืชให้สารอาหารอย่างเดียวกัน คือ ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าสารอาหารอื่นๆและยังช่วยในการดูดซึมของวิตามินบางชนิด นอกจากนี้การใช้ไขมันประกอบอาหารจะช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น ไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันวัว ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่ว น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
       ไขมัน   เป็นสารที่ให้พลังงานสูงเมื่อเทียบกับสารอาหารอื่นที่มีปริมาณเท่า ๆ กัน ร่างกายสามารถสะสมไขมันโดยไม่จำกัดปริมาณ  นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนคาร์โบรไฮเดรตหรือโบรตีนให้เป็นไขมันได้ด้วย  ดังนั้น  ถ้าเราจะกินอาหารที่เกินกว่าที่ร่างกายต้องการ  ร่างกายจะสะสมอาหารส่วนเกินไว้ในรูปของไขมัน  เป็นเนื้อเยื้อไขมันอยู่ใต้ผิวหนังและตามอวัยวะต่างๆ
นอกจากนี้ไขมันยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื้อหุ้มเซลล์และฮอร์โมนบางชนิดช่วยในการดูดซึมที่สะลายในไขมันเข้าสู่ร่างกาย   ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียน้ำมาก  ทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่หยาบกร้าน   รวมถึงสุขภาพผมและเล็บด้วย   ดังนั้นในวันหนึ่ง ๆ เราควรกินอาหารประเภทไขมันประมาณร้อยละ  30  ของจำนวนพลังงานที่ใช้ทั้งหมดต่อวัน

อาหารหลักหมู่ที่4

 หมู่ที่  4  วิตามิน    1000006425[1]
             
     kkkkkkkkkkk  42926 อาหารหลักหมู่ที่ 4 คืออาหารประเภทผลไม้ทุกชนิด เช่น ส้ม มะละกอ ลางสาด ละมุด ลำไย.สับปะรด  กล้วย มะม่วง  ผลไม้ให้สารอาหารคล้ายกับผัก คือ ให้เกลือแร่และวิตามินต่างๆ แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าผักผลไม้แทบทุกชนิดให้วิตามินซี จะให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ ส่วนวิตามินเอมีอยู่ในผลไม้สีเหลือและสีแสด เชน มะละกอสุก มะม่วงสุก (เปรียบเทียบมะละกอดิบกับมะละกอสุก มะม่วงดิบกับมะม่วงสุกเมื่อยังดิบจะมีวิตามินซีและวิตามินเอน้อยกว่าเมื่อสุกเป็นสีเหลือง)
                                                                                                                                                   --040_~1   ที่มา : http://www.no-poor.com/food_health.html
original_kapook_dookdik_1974_27942
     42926สารอาหารที่ได้รับ
………    อาหารหมู่นี้ให้สารอาหารประเภทเกลือแร่ วิตามิน กล่าวคือ ผลไม้เกือบทุกชนิดจะให้วิตามินซี ส่วนผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีแสดจะให้วิตามินเอ
..........................................
                                          --040_~1  ที่มา : http://www.born2beauty.com

         วิตามินแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด  ดังนี้
  ………….วิตามิน A   มีในน้ำมันตับปลา, นม, ครีม, เนย, ไข่แดง, ผัก, แตงโม, ผลไม้, ตับ, ช่วยให้ร่างกายเจริญ เติบโต  ช่วยรักษาเนื้อเยื้อของจมูก  หู  ตา  ปาก  และโพรงกระดูกให้แข็งแรง ช่วยระบบทางเดินอาหารและ การหายใจ
   …………วิตามิน B1  มีในเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว, หอยนางรม, ผักสีเขียว, เนื้อสัน, เครื่องในสัตว์, ถั่ว, นม, ไข่, ผลไม้สด, กล้วยหอม, เงาะ, มะละกอสุก, ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยให้ระบบประสาททำงานตามปกติ ช่วยให้เกิดอยากอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยให้เกิดแรงไม่เหนื่อยง่าย
……………วิตามิน B2   มีในเนื้อสัน, ตับ, ไข่, ผักสีเขียว, ผลไม้, เนยแข็ง, ถั่วลิสง, ช่วยให้ผิวพรรณผ่องใส ช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำงานประสานกันดีขึ้น ช่วยป้องกันไม่ให้ตาและผิวหนังอักเสบ
                วิตามิน B4  มีมากในยอดกะถิน, ตับ, ไข่, นม, เนย, เมล็ดพืช, ผลไม้, ผักสีเขียว มีประโยชน์เหมือน วิตามิน B6
                วิตามิน B6  มีในหัวใจ, เนื้อ, ปลา, กล้วยต่าง ๆ กระหล่ำปลี, ถั่วลิสง, มันเทศ, น้ำมันรำ ช่วยในการ เปลี่ยนแปลงอาหารโปรตีนและกรมไขมันบางชนิด ช่วยในการเผาผลาญอาหาร รักษาผิวพรรณ
                วิตามิน B12  สกัดได้จากตับ ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ซึ่งสืบเนื่องจากเมล็ดโลหิตแดงถูกทำลาย หรือกระดูกไขสันหลังย่อนสมรรถภาพในการผลิต โลหิตแดง มีในตับ, ผักสีเขียว, เนื้อ, เมล็ดพืช
                วิตามิน C  มีในส้ม, มะนาว, มะเขือเทศ, ผักสดต่าง ๆ, พริกไทย, กล้วย, ป้องกันโรคเลือดออก ตามไรฟัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยปวดตามข้อ ทำให้อวัยวะในร่างกายต้านทานโรคดีขึ้น แต่วิตามินชนิดนี้ร่างกายเก็บเอาไว้ไม่ได้ ถูกทำลายได้ง่ายที่สุด เมื่อร่างกายถูกแสงแดดหรือความร้อน
                วิตามิน D  มีในปลาและตับปลา, เนื้อ, ไข่, เมล็ดธัญพืช, กล้วยตาก ช่วยให้ร่างกายใช้แคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสให้มีประโยชน์ขึ้น สร้างกระดูกและฟัน
                วิตามิน E  มีในเนื้อสัตว์, ไข่สัตว์, พืชสีเขียว, ถั่วงอก ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหมัน
                วิตามิน K  มีในผักสีเขียว, ไข่แดง, มะเขือเทศ, ตับ, ดอกกะหล่ำปลี, ผลไม้ต่างๆ ช่วยในการแข็งตัว ของเลือดเวลาเกิดบาดแผล
   42926 ประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 4
          1.น้ำตาลในผลไม้ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว
………..2.วิตามินซีที่ได้รับจากผลไม้ช่วยต้านโรค ทำให้แผลหายเร็ว และป้องกันเรื่องโรคเลือดออกตามไรฟัน
… อาหารหมู่นี้มีสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่อยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับอาหารหมู่ที่ 3 และจะมีสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตมากด้วย

อาหารหลักหมู่ที่ 3


อาหารหลักหมู่ที่ 3 


คือ อาหารประเภทผักสดสีเขียวและสีเหลืองและผักชนิดต่างๆที่บริโภคเป็นประจำมีทั้งชนิด ใบ ต้น ดอก หัว ผล เช่น ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง ตำลึง คะน้า แตงกวา บวบ ฟักเขียว ผักกาดขาว ฯลฯ





 สารอาหารที่ได้รับ 
……….คือเกลือแร่ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ และวิตามิน เช่น วิตามินซี วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ฯลฯ ผักใบเขียว ผักสีเหลือง( เช่น ฟักทอง มันเทศ แครอท )
เพราะผักเหล่านี้มีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอ และซี
mmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmmm
                                       --040_~1  ที่มา : http://www.ivytechfranklin.com

       ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมีดังต่อไปนี้
          1. แคลเซียม  เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ และหัวใจ เป็นธาตุที่จำเป็นในการแข็งตัวของเลือด มีอยู่มากในนมและเนื้อสัตว์ประเภทที่ กินได้ทั้งกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย หญิงให้นมบุตร และทารกที่กำลังเจริญเติบโตไปจนถึงวัยรุ่นควรกินแคลเซียมมากกว่าปกติ
……..2. เหล็ก  เป็นตัวนำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ในส่วนที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นตัวพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย และพา คาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจ ในประเทศร้อน เมื่อเหงื่อออกมาก อาจมีการสูญเสียเหล็กออกไปกับเหงื่อได้ อาหารที่มีเหล็กมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ด ผักใบเขียว บางชนิด
      ..3. ไอโอดีน  ส่วนใหญ่ไอโอดีนจะอยู่ในต่อมไทรอยด์ ซึ่งอยู่ที่คอส่วนล่าง ต่อมไทรอยด์เป็นต่อม ไร้ท่อ มีหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอกซิน ถ้าหากร่างกายมีการขาดไอโอดีนตั้งแต่เด็ก จะทำให้เป็น โรคเอ๋อ ร่างกายแคระแกร็น และเป็นโรคคอพอก อาหารที่มีไอโอดีนได้แก่ อาหารทะเล และเกลืออนามัย วัยรุ่น หญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีนสูง
          4. แมกนีเซียม  มีมากในอาหารหลายชนิด เช่น ถั่ว ข้าวแดง ข้าววีท ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ผักใบเขียว(หากหุงต้มนานเกินไปจะทำให้แมกนีเซียมหลุดออกไปหมด) แมกนีเซียมมีประโยชน์ดังนี้   คือ ทำงานร่วมกับแคลเซียม หากร่างกายขาดแมกนีเซียม ฟันจะไม่แข็งแรง การที่ร่างกายมีแมกนีเซียมต่ำ จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจผู้ใหญ่จะต้องการแมกนีเซียมประมาณ 300-400 มิลลิกรัมต่อวัน
     5. ซีลีเนียม เป็นธาตุที่มีสมบัติเหมือนกำมะถัน ร่างกายต้องการซีลีเนียมน้อยมากหากได้รับมาก เกินไป จะเป็นอันตราย  อาหารที่มีซีลีเนียมมาก ได้แก่ ข้าวสาลี ตับ ไต ปลาทูน่า ซีลีเนียมมีการทำงาน สัมพันธ์กันกับวิตามินอี ซึ่งมีผลในการป้องกันโรคหัวใจเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ชนิดหนึ่งชื่อว่า ซีลีโนโปรตีน เอนไซม์นี้ป้องกันให้สารพิษชื่อว่า ฟรีแรดิกัล เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ช่วยลดการแพ้ เคมีภัณฑ์ต่างๆได้ ช่วยลดการแพ้มลพิษจากอากาศ  ช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร
         6. สังกะสี เป็นธาตุที่เราต้องรับเป็นประจำในปริมาณที่น้อยมากเพราะถ้ามากเกินไปก็จะก่อให้ เกิดอันตราย อาหารที่มีสังกะสีมาก ได้แก่ ตับ ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว หอยนางรมหากกินอาหารที่มีสังกะสี ในปริมาณต่ำมาก จะทำให้เจริญเติบโตช้า ขนร่วง มีความสำคัญในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์อินซูลิน ซึ่งช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลที่เรากินเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร่างกายจะมีสังกะสีต่ำกว่าคนปกติหากขาดจะเป็นโรคตาบอดสี(เรตินาในตาของคนจะมีสังกะสีอยู่ในปริมาณสูง) ช่วยเพิ่มให้รู้สึกว่าอาหารหวานยิ่งขึ้น  ทำให้คนกินหวานน้อยลง  บำรุงรักษาผิวหนัง และสิวฝ้า
      ใ7. โครเมียม ร่างกายต้องการน้อยมาก ถ้าได้รับมากเกินไปก็จะเกิดอันตราย อาหารที่มีโครเมียมมาก ได้แก่ ไข่แดง ตับ หอย มันเทศ ยีสต์หมักเหล้า โครเมียมช่วยในการเผาผลาญน้ำตาล  ช่วยป้องกันการเกิด โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
89029smile-cartoon-graphic ประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 3
                1. ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่าย
………..2. ช่วยให้ผิวพรรณสวยงามและไม่เป็นสิว
………..3. ช่วยให้ไม่อ้วน
………. 4. ถ้ารับประทานมากๆอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้

อาหารหมู่ที่2



 อาหารหลักหมู่ที่ 2



  คือ อาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชจำพวกหัว เช่น เผือก มัน
……………..- ข้าว เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้างฟาง
……………  - แป้ง เช่น แป้งข้าเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง
……………….รวมทั้งขนมปัง ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยวชนิดต่างๆ
……………  .- น้ำตาล น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย และขนมหวานต่างๆ





สารอาหารที่ได้รับ
                ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย
                คาร์โบไฮเดรต    เป็นสารอาหารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอน  ไฮโดรเจน  และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญ  คาร์โบไฮเดรตที่มีในอาหารสามารถจัดจำแนกได้เป็น  2  กลุ่ม  ตามสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ได้แก่
                2.1 น้ำตาล   เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวานและละลายน้ำได้  ตัวอย่าง  เช่น
…………….  1.) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ มอโนแซ็กคาไรด์  (Monosaccharide ) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด  ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้อีก  สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  ตัวอย่างของน้ำตาลชนิด  ได้แก่  กลูโคส  ฟรักโทส  และกาแล็กโทส  กลูโคสพบในผักและผลไม้ที่มีรสหวาน ฟรักโทสมีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น  พบในน้ำผึ้ง   ผักและผลไม้ที่มีรสหวานเช่นกัน  ส่วนกาแล็กโทสพบในน้ำนม
                  2.) น้ำตาลโมเลกุลคู่ หรือ ไดแซ็กคาไรด์  (Disaccharida )  เป็นคาร์โบไฮเดรต  ที่เกิดจากการรวมตัวของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้  น้ำตาลชนิดนี้เมื่อกินเข้าไปร่างกายจะย่อยสลายให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะดูดซึมไปใช้ประโยชน์  ตัวอย่างของน้ำตลชนิดนี้  ได้แก่ซูโครสหรือน้ำตาลทรายมอลโทส และแล็กโทส ซูโครสพบในผักและผลไม้ทั่วไป เช่น อ้อย  ตาล  มะพร้าว  หัวบีท  เป็นต้นเมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคสและฟรักโทสอย่างละ 1 โมเลกุล  มอลโทสพบในข้าวบาร์เลย์หรือข้าวมอลต์ที่นำมาใช้ทำเบียร์  เครื่องดื่ม  และอาหารสำหรับเด็ก  เมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคส 2 โมเลกุล  แล็กโทสพบในน้ำนม เมื่อแตกตัวจะได้กลูโคสและกาแล็กโทสอย่างละ 1 โมเลกุล
……….2.2 พวกที่ไม่ใช่น้ำตาล  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน ละลายน้ำยากหรือไม่ละลายเลย  เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรืออมอโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมาเกาะรวมตัวกันเป็นสารที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน  เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์  ( Polsaccharide )  ตัวอย่างของคาร์โบไฮเดรตกลุ่มนี้  ได้แก่
                  1.) แป้ง  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่พืชเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่างๆ โดยเฉพาะเมล็ด  รากหรือหัว
                  2.) เซลลูโลส  เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโครงสร้างส่วนใหญ่ของพืช  โดยเฉพาะที่เปลือก  ใบ  และเส้นใยที่ปนในเนื้อผลไม้  เซลลูโลสร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยสลายได้  แต่จะมีหารขับถ่ายออกมาในลักษณะของกากเรียกว่า   เส้นใยอาหาร   ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ทำให้ขับถ่ายสะดวก  พืชประเภทผัก  และถั่ว  ผลไม้  จัดเป็นแหล่งที่ให้เส้นใยอาหาร  เพราะมีเซลลูโลสอยู่ประมาณสูง  จึงควรกินเป็นประจำทุกวัน  วันละประมาณ 20-36   กรัม
…………..  3.) ไกลโคเจน   เป็นคาร์โบโฮเดรตประเภทแป้งที่สะสมอยู่ในร่างกายของคนและสัตว์   พบมากในตับและกล้ามเนื้อ   เมื่อปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลงหรือร่างกายขาดสารอาหาร   ตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส   เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายต่อไป
           คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อนำมาใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในวันหนึ่งๆ ร่างกายต้องใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 50 – 55 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับจากอาหาร  ดังนั้น เราควรกินอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้งให้ได้ปริมาณ 300 – 400 กรัมต่อวัน  จึงจะเพียงพอกับปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการ

ประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 2
………….. .1. ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่น ทำให้ร่างกายสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ดี
………….  .2. เกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึมการที่จะใช้ประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอำนาจการละลายของสารในร่างกาย
images
                           
          .ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน ปริมาณความต้องการของอาหารหมู่นี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของบุคคลที่ต้องออกแรงมาก ผู้ที่ออกแรงน้อยก็ต้องการน้อย นอกจากนี้ ความต้องการยังขึ้นอยู่กับวัย เพศ และขนาดของร่างกาย เช่นเด็กผู้ชายต้องการอาหารมากกว่าเด็กผู้หญิง เด็กโตต้องการมากกว่าเด็กเล็ก นักกีฬาต้องการมากกว่าคนที่ไม่ได้เล่นกีฬา สำหรับผู้ใหญ่อย่างน้อยควรได้รับร้อยละ 50 – 70 ของพลังงานที่ต้องการ

ประวัติส่วนตัว







ชื่อ นางสาว อัญชลี  นามสกุล  นาคอ่วมค้า

ชื่อเล่น  อันปัน

เกิดวันที่  27  มิถุนายน  2539

สีที่ชอบ สีฟ้า,สีดำ

งานอดิเรก  ฟังเพลง เล่นเกม

อาหารที่ชอบ  ราดหน้า

ปัจจุบัน ศึกษาอยู่ที่  วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสุโขทัย  ชั้น ปวช.3 สาขาธุถรกิจสถานพยาบาล

http://www.scc.ac.th/

คติประจำใจ  บางครั้งคนที่มี"อดีต"เลวร้ายที่สุดก็อาจสร้างสรรค์"อนาคต"ที่ดีที่สุดได้







วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

อาหารหมู่ที่1 ให้อะไรกับร่างกายบ้างนะ



 อาหารหลักหมู่ที่ 1 

 อาหารประเภท เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วเมล็ดแห้ง







  สารอาหารที่ได้รับ

ให้สารอาหารหลายชนิด ได้แก่ โปรตีน รองลงมาได้แก่ ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินต่างๆพวกเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับมีวิตามินและเกลือแร่มากเป็นพิเศษ





  กรดอะมิโนที่จำเป็น   คือ  กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้แต่ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น  กรดอะมิโนที่พบในโปรตีนธรรมชาติประมาณ 22 ชนิดนี้เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็น 8 ชนิด  ที่เหลือเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น  ซึ่งนอกจากจะได้จากอาหารแล้วร่างกายยังสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ด้วย
   โปรตีน     เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อร่างกายในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ  และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน และแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกัน  ร่างกายของคนเรามีโปรตีนอยู่ประมาณร้อยละ 20 ของนำหนักตัว  โปรตีนนอกจากจะจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว  ยังให้พลังงานแก่ร่างกายอีกด้วย  โดยมาเผาผราญให้เกิดพลังงานทดแทน  แต่ในกรณีที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันอย่างเพียงพอแล้ว  ร่างกายจะสงวนโปรตีนไว้ใช้เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตและหน้าที่สำคัญอื่นๆ

ประโยชน์ของอาหารหลักหมู่ที่ 1

 1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ของอวัยวะต่างๆ
 2. เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่ให้อำนาจในการต้านทานโรค
 3. ให้พลังงาน ในกรณีที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี
 4. เป็นส่วนประกอบของสารเอ็นไซม์และฮอร์โมน เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ
….เช่น การย่อย การหายใจ การดูด